วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทศน์มหาชาติในวันออกพรรษา ตอนที่2

สำหรับวันออกพรรษาเป็นประเพณีหนึ่งที่คนไทยสืบทอดกันมาอย่างยาวนานอีกทั้งยังมีประเพณีการทำบุญวันออกพรรษาอีกหนึ่งอย่างที่ขาดไม่ได้นั้นคือการฟังเทศน์มหาชาตินั้นเอง ซึ่งมีความสำคัญในวันออกพรรษาเป็นอย่างมาก สำหรับตอนที่2นี้ เรามาดูกันว่าวันออกพรรษา ระเบียบพิธีในการเทศน์มหาชาติ ที่นิยมกันเป็นหลักใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง

๑) ตกแต่งบริเวณพิธีให้มีบรรยากาศคล้ายอยู่ในบริเวณป่า ตามท้องเรื่องเวสสันดรชาดก โดยนำเอา ต้นกล้วย ต้นอ้อย และกิ่งไม้มาผูกตามเสา และบริเวณรอบ ๆ ธรรมาสน์ ประดับธงทิว และ ราวัติ ฉัตร ตามสมควร

๒) ตั้งขันสาครใหญ่ หรือจะใช้อ่างใหญ่ที่สมควรก็ได้ใส่น้ำสะอาดเต็ม สำหรับปักเทียนบูชาประจำกัณฑ์ ในระหว่างที่พระเทศน์ น้ำในภาชนะที่ตั้งนี้เสร็จพิธีแล้ว ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ที่สำคัญ ภาชนะใส่น้ำนี้ตั้งหน้าธรรมาสน์ กลางบริเวณพิธี

๓) เตรียมเทียนเล็ก ๆ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม แล้วนับแยกจำนวนเป็นมัด มัดหนึ่งมีจำนวนเท่าคาถาของกัณฑ์หนึ่ง แล้วทำเครื่องหมายไว้ให้ทราบ ว่ามัดไหนสำหรับบูชาคาถากัณฑ์ใด เมื่อถึงคราวเทศน์กัณฑ์นั้นก็จะเอาเทียนมัดนั้นออกจุดบูชาติดรอบ ๆ ภาชนะน้ำ ต่อกันไปจนจบกัณฑ์ให้หมดมัดพอดี ครบ ๑๓ กัณฑ์ถ้วน จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เท่าจำนวนคาถา บางแห่งนิยมทำธงเล็ก ๆ ๑,๐๐๐ คัน แบ่งจำนวนเท่าคาถาประจำกัณฑ์เช่นอย่างเทียน แล้วปักธงบูชาระหว่างกัณฑ์บนหยวกกล้วย แต่การใช้ธงไม่เป็นที่นิยม เช่น เทียน การจุดเทียนหรือปักธงบูชากัณฑ์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเจ้าภาพผู้รับกัณฑ์นั้น ๆ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับการทำบุญวันออกพรรษาโดยการฟังเทศน์มหาชาติ และเราต้องทราบถึง  ระเบียบพิธีในการเทศน์มหาชาติ นั้นจะทำให้เราเข้าใจความหมายของสิ่งนั้นๆได้มากยิ่งขึ้นๆไป
Read More


เทศน์มหาชาติในวันออกพรรษา ตอนที่1

เทศน์มหาชาติในวันออกพรรษา ตอนที่1 นี้ขอนำเสนอในส่วนของควาหมายของการเทศน์มหาชาติก่อนนะครับ การทำบุญวันออกพรรษาโดยการฟังเทศน์มหาชาติก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการทำบุญเหมือนกัน

การเทศน์มหาชาตเทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐิน ผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงานสองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดกอีกวันหนึ่ง

วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดก ตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปีพาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย

วันรุ่งขึ้น ทำบุญเลี้ยงพระอีกแล้วมีเทศน์ จตุราริยสัจจกถาในระหว่างเพลจบแล้วเลี้ยงพระเพลเป็นอันเสร็จพิธี

ระเบียบพิธีในการเทศน์มหาชาติ ที่นิยมกันเป็นหลักใหญ่ ๆ ดังนี้ อันนี้เด๋วจะนำเสนอในบทความถัดไป

บทความในวันออกพรรษานี้หวังว่าผู้อ่าจจะได้เข้าใจในเรื่องของความหมายของเทศน์มหาชาติได้ยิ่งขึ้น และมีจิตใจในการทำบุญวันออกพรรษากันอีกด้วย หากบทความผิดพลากแต่อย่างไรทางผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี่ ด้วย
Read More


วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา พรหมวิหาร ๔

สิ่งที่ชาวพุทธพึ่งปฏิบัติในการทำบุญวันออกพรรษาอีกหนึ่งอย่างนั้นคือการทำตามหลักคำสอนของพุทธศาสนานั้นเอง ซึ่ง หลักคำสอนมีอยู่มากมาย พรหมวิหาร ๔ เป็นอีกหนึ่งการสอนที่เน้นถือการทำความดี
๓. พรหมวิหาร ๔
     พรหมวิหาร หมายถึง หลักความประพฤติอันเสริฐมี ๔ ประการ คือ
          ๓.๑ เมตตา  ความรัก ความปรารถนาดีอยากให้ผู้อื่นมีความสุข
          ๓.๒ กรุณา  ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อิ่นให้พ้นทุกข์
          ๓.๓ มุทิตา  ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีความสุข
          ๓.๔ อุเบกขา  ความวางใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียง โดยพิจารณาว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว

หากเรานำหลักธรรมคำสอนพรหมวิหาร ๔ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จะทำให้ชีวิตเรามีความสุขมากยิ่งขึ้น การทำบุญวันออกพรรษาก็เช่นกัน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุข
Read More


หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา ฆราวาสธรรม ๔

ฆราวาสธรรม ๔ เป็นหนึ่งหลักธรรมคำสอนที่เราควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งเพราะว่ามันสามารถเอามาใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้นั้นเอง การทำบุญวันออกพรรษาก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สอนให้คนทำความดี

 ฆราวาสธรรม ๔ หมายถึง หลักธรรมที่ผู้ครองเรือนควรปฏิบัติ มี ๔ ประการ คือ
         ๒.๑ สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ ความจริงใจ ความซื่อตรงต่อกัน
คนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ควรมีความซื่อสัตย์ต่อกันทั้งกาย วาจาและใจ จะทำให้เกิดความไว้วางใจกัน ร่วมมือกันพัฒนาครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นในฐานะที่เราเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว เราจึงควรแสดงความซื่อสัตย์ต่อพ่อแม่ พี่น้อง และสมาชิกทุกคนในบ้าน เช่น ไม่พูดปด มีความตั้งใจที่จะทำงานตามหน้าที่ด้วยความตั้งใจ เป็นต้น
          ๒.๒ ทมะ คือ การข่มใจ การฝึกฝนตนเองไม่ให้ประพฤติชั่ว
คนเราเมื่ออยู่ด้วยกัน ย่อมจะมีความขัดแย้งกันบ้าง สิ่งใดที่ไม่ตรงกับความคิดของเรา เราควรพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ ไม่ควรแสดงกิริยาอาการโต้แย้งออกมาทันที ถ้าเราสามารถข่มใจและพิจารณาปัญหาให้เข้าใจแล้ว เราก็สามารถแก้ปัญหานั้นด้วยความสงบเรียบร้อย
          ๒.๓ ขันติ คือ ความอดทน หมายถึง ความอดทนต่อสิ่งที่ไม่ดี อดทนต่อความยากลำบาก
การอดทนต่อความยากลำบากทางกาย อดทนต่อการพูดจาไม่สุภาพ และอดกลั้นจิตใจห้อยู่ในความสงบ ไม่โกรธ ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น ถ้าเรามีขันติในเรื่องต่าง ๆ แล้วจะทำให้เราอยู่ในครอบครัวได้อย่างมีความสุข
          ๒.๔ จาคะ คือ การเสียสละ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
เราอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ควรสละสิ่งของ แบ่งปันของกินของใช้ให้กันและกันตามสมควรแก่ฐานะ การแบ่งปันกันจะทำให้เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ

สังเกตุได้ว่าหลักธรรมการสั่งสอนของ ฆราวาสธรรม ๔  จะสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ด้วย
Read More


หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาหัวข้อ อิทธิบาท ๔

การทำบุญวันออกพรรษานอกจากเราเข้าวัดทำบุญกันแล้วมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เราจะขาดไม่ได้เลยนั้นคือการถือศิล วันนี้เราเอาหลักการคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนามาให้ผู้ที่กำลังหาข้อมูลได้ความรู้กัน

๑. อิทธิบาท ๔
     อิทธิบาท ๔หมายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จ มี ๔ ประการ คือ
         ๑.๑ ฉันทะ  ความพอใจในงานที่ทำหรือในสิ่งที่จะศึกษาเล่าเรียน
         ๑.๒ วิริยะ  ความเพียรพยายามทำงานให้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่อการทำงาน
         ๑.๓ จิตตะ  ความเอาใจใส่ในการทำงาน ตั้งใจทำงานอย่างสม่ำเสมอ
         ๑.๔ วิมังสา  ความคิดรอบคอบ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองงานที่ทำว่ามีข้อบกพร่องอะไรที่ควรแก้ไขหรือควรเพิ่มเติมอะไรซึ่งจะทำให้งานนั้นดีขึ้น
     หลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเหตุเป็นผลกัน นั่นคือ ความพอใจทำให้เกิดความขยันหมั่นเพียร ซึ่งทำให้เกิดความเอาใจใส่ และมีจิตใจจดจ่อต่อการทำงานนั้นและความเอาใจใส่นี้เองจะทำให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองงานที่ทำไปแล้วว่าดีหรือยัง มีข้อบกพร่องหรือไม่ ถ้ามีข้อบกพร่องก็สามารถแก้ไขได้ทัน
*การปฏิบัติตามหลักอิทธิบาท ๔ นั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ประการ จึงจะทำให้งานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ*

หลักธรรมการสั่งสอนของธรรมะทุกหลักธรรมการสอนมีไว้ให้เราปฏิบัติตาม โดยไม่ได้หวังว่าจะต้องทำตาม แต่อย่างไรก็ตาม หากเราร่วมกันทำบุญวันออกพรรษา ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติแล้วนั้นเอง
Read More